The store will not work correctly when cookies are disabled.
JavaScript ดูเหมือนจะถูกปิดใช้งานในเบราเซอร์ของคุณ
เพื่อประสบการณ์ที่ดีที่สุดในไซต์ของเราโปรดเปิดใช้ Javascript ในเบราเซอร์ของคุณ
52 Week Of Design
52 Week Of Design
104 Result
สิ่งสำคัญของการทำ Hotel คือ 1.First Impression 2.Facilities 3.Infrastructure หลักรอบๆ ส่วนเรื่องการตกแต่ง ผมว่าภายในห้องควรแต่งให้น้อย ส่วนตัวผมแต่งน้อยแต่ผมยอมจ่ายเพื่อฟูกแพงๆ เพื่อให้คนที่จะมาพักเขามีความสุข
ถ้าอยากนอนหลับสนิท แนะนำให้ใช้ม่านทึบ (Blackout) ซึ่งเป็นม่านที่จะปิดได้มืดสนิท Trick คือวางซ้อนกันนิดนึง ทั้งส่วนที่ซ้อนกันตรงกลางและข้างๆ (กรณีที่เป็นม่านสองอัน) โดยเหลื่อมกัน 15 ซม. ซึ่งเป็นระยะที่จะช่วยบังแสงได้ดีที่สุดค่ะ
ทุกแบรนด์สร้างคุณภาพของตัวเองได้โดยไม่ต้องตะโกนผ่านงานดีไซน์สเกลใหญ่ยักษ์ที่อาจใช้เวลาทำแรมเดือน แต่ใช้งานไม่กี่ชั่วโมงแล้ว “ทิ้ง”
การมี “โฮมอโรม่า” ในบ้าน มันทำให้เกิดความรู้สึกผ่อนคลาย คือ "การแต่งบ้าน" มันไม่ใช่แค่ความสวยงามที่ตา แต่เป็นเรื่องประสาทสัมผัสด้านอื่นๆ ด้วยค่ะ
“บ้าน” ที่ถูกออกแบบมาเพื่อตัวคุณ มันจะทำให้คุณภาพชีวิตคุณดีขึ้น อย่างน้อยเวลากลับบ้านคุณจะรู้สึกว่านี่เป็นที่ที่เมื่อคุณเหนื่อยที่สุดแล้วคุณอยากกลับมา มันต้องเป็นอะไรที่กลับมาแล้วเจอความสวยงามและได้ความรู้สึกชื่นใจ
ผมให้ความสำคัญกับ “พื้นที่ส่วนกลาง” ที่ทุกคนในบ้านจะมาเจอกัน เราต้องรู้ว่าอะไรเป็นความต้องการที่สมาชิกแต่ละคนอยากได้ร่วมกัน ก็จับเอาสิ่งนั้นมาสร้าง Space มันจะกลายเป็นพื้นที่ที่ทุกคนสามารถมาทำกิจกรรมร่วมกันได้อย่างมีความสุข
วัสดุนึงที่กำลังอินเทรนด์ตอนนี้ คือ Terrazzo หรือหินขัดค่ะ ถ้าไปตามร้านตามคาเฟ่ เราก็จะเห็นเขาใช้วัสดุนี้ เยอะขึ้นค่ะ ถ้าจะเลือก Terrazzo ไปทำพื้น ควรเลือกแพทเทิร์นที่มีตัวเม็ดหินใหญ่หน่อยไม่งั้นมันจะแตกร้าวได้ค่ะ ถ้าเลือกลายที่ไม่ได้มีสีมากราคาจะถูกกว่าหินจริง และให้ความรู้สึกคล้ายๆ หินแกรนิต
ถ้าคิดจะปรับปรุงบ้าน ให้ลองจดรายการความต้องการออกมา และถ้าหากมีงบประมาณที่จำกัดให้โฟกัสพื้นที่ที่สำคัญและมีการใช้งานมากที่สุดก่อน จากนั้นให้ดูแปลนบ้านเดิมว่าสามารถขยายหรือปรับปรุงโดยมีผลกระทบกับโครงสร้างหรือไม่ และจึงดูเรื่องรูปแบบที่ต้องการ วัสดุที่ชอบ อาจจะลองทำแผนงานออกมาให้ชัดเจน
เวลาติดตั้งแอร์ ผมจะค่อนข้างใส่ใจกับงานระบบ เช่น การวางตำแหน่งคอยล์ร้อนของแอร์ คือจะให้มันไปเรียงรวมกันอยู่ที่ระเบียงทั้งหมดซึ่งมันก็จะเปลืองค่าท่อนิดนึง แต่มันก็ทำให้เกิดความสวยงามและมีจุดเซอร์วิสที่เดียวจบ ซึ่งผมจะทำแบบนี้กับบ้านทุกหลัง ใครที่มีบ้านอยู่แล้วจะเอาไปลองทำก็ได้ครับถ้าทนไหวกับค่าท่อ
ถ้าอยากเพิ่มเรื่องแสงเงาให้กับบ้าน อย่างแรกคือทำให้บ้านโล่งที่สุดเท่าที่จะโล่งได้ เพราะความโล่งทำให้เกิดความสงบได้มากขึ้น สองคือถามตัวเองว่ากิจกรรมไหนคือสิ่งที่ฉันชอบ เพราะการจะทำให้บ้านโล่งได้แปลว่าเราต้องเลือกที่จะตัดทอนบางอย่างที่ไม่จำเป็นหรือไม่ใช่ตัวตนของเรา แล้วก็ดึงพื้นที่กิจกรรมนั้นไปใกล้แสงธรรมชาติให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้
ในงานออกแบบ ผมให้ความสำคัญกับช่วง “การคิดและการสร้างรายละเอียด” เพราะว่ารายละเอียดจะเป็นตัวกำหนดว่างานเราจะสวยหรือไม่สวย คืองานมันไม่ได้จบแค่ขายลูกค้าผ่าน พอเราขายเสร็จสิ่งที่เราต้องรับผิดชอบต่อก็คือการเคลียร์รายละเอียดให้มันได้อย่างที่เราขายไป ซึ่งอันนี้ยากกว่าอีก
ถ้ามีบางห้องที่โดนแดดเยอะอาจจะลองเลือกต้นไม้ที่มีรูปทรงเหมาะกับการบังแดดในแต่ละทิศมาช่วย เพราะบ้านเป็นอาคารที่ไม่ได้สูงมาก เราใช้ต้นไม้มาช่วยก็อาจจะทำให้อยู่สบายขึ้นได้ อย่างทิศใต้ ควรเลือกต้นไม้ที่มีลำต้นสูงเพื่อให้ลมเข้ามาได้แต่มีทรงพุ่มแผ่กว้างเพื่อบังแดด หรือทิศตะวันตกก็เลือกไม้พุ่มหนาหน่อยจะได้บังแดดมุมต่ำๆ ได้
เวลาออกแบบบ้าน เรื่องสวยและสบายมันเป็น Must Have อยู่แล้ว แต่ผมสนใจเรื่องคุณภาพมากกว่า เพราะหน้าที่ของสถาปนิกเวลาที่เราออกแบบอะไรสักอย่าง เราควรต้องคำนึงถึงคุณภาพชีวิต ซึ่งสำหรับผมมันไม่ใช่สิ่งที่เรียกกันว่าไลฟ์สไตล์ แต่ผมมองว่ามัน คือ คุณภาพชีวิตที่มันต้องยกระดับการใช้ชีวิตที่เป็นเรื่องพื้นฐานง่ายๆ
ปัญหาของบ้านที่มีพื้นที่มาก คือ สมาชิกในบ้านไม่ค่อยคุยกัน ทุกคนจะไปหาที่เหมาะๆ แล้วก้มหน้าเล่นมือถือ เฟอร์นิเจอร์จะเข้ามาตอบโจทย์ตรงนี้ได้ โดยเลือกใช้เฟอร์นิเจอร์แบบ Oversize จากโซฟาที่นั่งได้สองคน ลองปรับเป็น L Shape หรือ U Shape เพื่อทำให้คนนั่งหันมองหน้ากัน มันช่วยเรื่องของความสัมพันธ์ในครอบครัวได้มากขึ้น
ถ้าพูดถึงฮวงจุ้ยกับงานออกแบบตกแต่ง สิ่งสำคัญที่อยากบอกคือ คุณควรพาซินแสเข้ามาก่อนที่อินทีเรียร์ดีไซน์เนอร์จะเข้า ไม่ควรพาซินแสเข้ามาหลังจากงานอินทีเรียร์เสร็จแล้ว เพราะมันจะะแก้ไม่ได้ อาจทำให้คุณเสียเงินเปล่าไปกับสิ่งที่ทำไปแล้วและต้องรื้อทีหลัง
ฟ้าใสมองว่า “อินทีเรียร์” มันคือเรื่องของ “มนุษย์กับการใช้งานพื้นที่” ซึ่งในฐานะดีไซน์เนอร์เราก็มีหน้าที่ออกแบบเพื่อสร้างสิ่งแวดล้อมให้ User มีประสบการณ์ที่ดีกับพื้นที่ของเขา ถ้าเป็นบ้าน คือ ทำยังไงให้เขาอยู่สบาย ถ้าเป็นออฟฟิศ คือ ทำยังไงให้ขาทำงานแล้วมีประสิทธิภาพมากที่สุดและไม่เครียด
เมื่อจะเลือกซื้อเฟอร์นิเจอร์เข้าบ้าน ควรตั้งต้นที่ “ขนาด” ที่มันเหมาะกับห้องก่อน...ขนาดห้องเราเท่านี้โซฟาแค่นี้พอ เวลาไปเดินเลือกก็อย่าเลือกให้มันเกินนี้ แม้ว่ามันจะสวย จะโปรโมชั่นดีก็เถอะ เพราะโดยมากเรามักจะเลือกของที่มันใหญ่เสมอ เพราะรู้สึกว่าคุ้มกับที่จ่าย แต่สุดท้ายพอเอามาลงที่บ้าน ขนาดมันอาจไม่โอเคกับพื้นที่ของเรา อันนั้นแหละมันจะมีปัญหา
สำหรับใครที่เป็นเจ้าของธุรกิจ ถ้าคุณคิดอยากจะเปิดร้าน อย่างแรกสุดเลยคือ คุณควรไปทำความรู้จักหรือทำการบ้านกับสินค้าของตัวเองก่อน จุดแข็งจุดอ่อนอยู่ตรงไหน และควรเปิดใจบอกกับดีไซน์เนอร์ถึงข้อดีข้อเสียนั้นเพื่อช่วยกันอุดรูรั่ว
ลองเลือก “ของตกแต่ง” ที่มีดีไซน์เหมือนของเล่นมาแต่งบ้าน คือมันใช้ประโยชน์ได้มากกว่าแค่การวางไว้เฉยๆ เวลาเพื่อนมาบ้าน ก็หยิบออกมาเล่นได้ หรือจะวางไว้เฉยๆ ก็สวย มันเหมือน Gimmick ที่ทำให้บ้านเราดูสนุกขึ้น
ใครที่ชอบหิวตอนดึกๆ แนะนำให้ทำ “มินิบาร์” ไว้ที่ชั้นสองหรือในห้องนอนใหญ่ เหมือนแบบที่มีในโรงแรม แล้วก็ทำลิ้นชักสำหรับเก็บจานและช้อนเล็กๆ น้อยๆ ไว้ด้วย...การมีฟังก์ชั่นแบบนี้ จะช่วยทำให้คุณสะดวกมากขึ้นเวลาที่รู้สึกหิวตอนดึกๆ จะได้ไม่ต้องเดินลงไปที่ครัวชั้นล่างค่ะ
การวางผังให้บ้านอยู่ตรงกลางและมีพื้นที่สวนล้อมรอบ จะทำให้คุณได้สวนที่แคบไปเสียทุกด้าน ดังนั้น อีกทางเลือกหนึ่งที่จะทำให้มีพื้นที่สวนกว้างขึ้น คือ การวางตัวบ้านให้ชิดมาทางด้านหน้าเพื่อเปิดด้านหลังให้เป็นสวนแทน แต่ถ้าหลังบ้านเป็นวิวที่ไม่โอเค ก็อาจวางผังให้ตัวบ้านปิดล้อมพื้นที่ด้านหน้าและด้านหลัง แล้วเปิดพื้นที่ตรงกลางให้เป็นสวนก็ได้
กฎข้อแรกในการเปิดร้านอาหาร คือ กินให้เยอะ !!! ถ้ากินไม่เยอะอย่าเพิ่งเปิดร้าน!!! ถ้ายังไม่ถึงขั้นที่จะเข้าใจเรื่อง “หลังบ้าน” ดีพอ ก็อย่าทำ “หน้าบ้าน”...ไปอยู่หลังบ้านก่อน ไปเป็นพนักงานหรือเป็นผู้ช่วยก่อนจะออกมาด้านหน้า
เวลาจะซื้อบ้านจัดสรร อย่าดูแค่ “บ้านตัวอย่าง” (ที่เขาแต่งเต็ม) เพราะมันจะสวยมาก!! แนะนำให้ลองไปดู “บ้านเปล่า” ที่ยังไม่มีเฟอร์นิเจอร์ด้วย เพื่อจะได้รู้ว่าของจริงโครงการเขาให้อะไรคุณบ้าง จะได้ไม่โดนหลอกตาไปกับ Space สวยๆ
สำหรับใครอยากให้บ้านสัมผัสกับธรรมชาติมากที่สุด เวลาวางผัง แทนที่จะปลูกต้นไม้ไว้หน้าบ้านตามรูปแบบเดิมๆ ลองเปลี่ยนมาสร้างบ้านเป็นรูปตัว L (แอล) หรือตัว U (ยู) แล้วแทรกสนามหรือต้นไม้เข้าไป จะทำให้บรรยากาศของบ้านโปร่งสบาย ได้แสงธรรมชาติเข้ามามากขึ้น
ในบ้านยังมี “เศษของพื้นที่” ที่คุณอาจลืมไป เช่น พื้นที่ชั้นบนสุดที่มีฝ้าเตี้ยๆ ถ้าคุณลองขยับฝ้า ยกโครงหลังคาขึ้นอีกนิด มันจะทำให้คุณได้พื้นที่ใช้สอยเพิ่ม...มันเป็น Space ที่มองไม่เห็น แต่สร้าง Value ให้การใช้ชีวิตของคุณได้
เรื่องแต่งบ้าน ส่วนตัวผมมองว่าเราไม่จำเป็นต้องทำอะไรตามเทรนด์ เพราะเทรนด์มันมา...เดี๋ยวมันก็ไป คุณควรเลือกอยู่กับสิ่งที่คุณชอบ มันจะโอเคกว่า เพราะคุณจะอยู่กับมันไปได้เรื่อยๆ
ห้องนอนสำหรับคู่แต่งงาน ต้องออกแบบให้ “อยู่แล้วไม่หย่า” คือ ไม่ใช่ว่าพอคนนึงตื่นขึ้นมาใช้ห้องน้ำ กดชักโครกแล้วเสียงดัง หรือลุกขึ้นมาแต่งตัว แล้วเปิดไฟ อาบน้ำ เป่าผม ทำให้เกิดเสียงดัง ไฟแยงตา มันสร้างความหงุดหงิดให้อีกคนได้ มันเป็นฟางเส้นเดียว ที่อาจทำให้เกิดความร้าวรานในครอบครัวได้
ผมให้ความสำคัญกับ Space Planning เพื่อให้ผู้ที่เข้าไปใช้งาน “อยู่สบายและได้ฟังก์ชั่นใช้สอยที่ตรงใจ” การวางผังห้องเป็นเรื่องสำคัญ ตรงไหนควรกว้างแคบเท่าไหร่ หรือจะมีกิจกรรมอะไรเกิดขึ้นบ้าง มันจะทำให้เราตอบโจทย์ลูกค้าได้ชัดเจนมากขึ้น
ผมให้ความสำคัญกับเรื่อง “ความสะอาด” เพราะบ้านคือ Living Space ผมเจอเพื่อนหลายคนเป็นภูมิแพ้โดยไม่รู้ตัว ผมบอกเขาว่า ให้กลับไปเช็คก่อนเลยว่า บ้านสะอาดหรือเปล่า?
สำหรับงานออกแบบตกแต่งประเภทที่อยู่อาศัย...ถ้าคุณคิดว่า คุณจะไม่รื้อไม่ทุบอะไรเลยกับบ้าน ผมว่าคุณไม่ต้องมาหาผมหรอก เพราะผมเป็น “มือระเบิด” ชั้นดี (หัวเราะ)
ผมเชื่อว่าการที่คนเราจะสามารถอยู่ได้แบบเป็นมนุษย์ที่สุด คือ การอยู่ร่วมกับธรรมชาติ เช่น ได้ปลูกต้นไม้ ได้เห็นการเติบโตของมัน ได้รับรู้ว่าวันนี้ฝนตก แดดออก ได้รับรู้ถึงสิ่งมีชีวิตอื่นๆ มันสร้างความสุขและความสบายใจบางอย่าง ผมคิดว่า “อันนี้คือชีวิต”
สำหรับคนที่ชอบแต่งบ้านด้วยวัสดุธรรมชาติ ผมอยากให้คุณเรียนรู้อย่างนึงว่า มันจะมีความเสื่อมไปตามธรรมชาติ คุณอาจต้องเข้าใจ “ความงามในความเสื่อมไป” ของมันด้วย
เวลาที่จะออกแบบบ้าน ควรต้องตั้งคำถามกับตัวเองดีๆ ว่าจริงๆ แล้ว เราเป็นคนยังไง กิจวัตรประจำวันเป็นยังไง ใช้เวลาอยู่บนเฟอร์นิเจอร์ชิ้นไหนมากที่สุด พอเราเข้าใจตัวเอง มันจะเป็นตัวชี้นำที่ชัดเจนกว่าที่จะคิดฟังก์ชั่นคร่าวๆ แค่ว่าสองห้องนอนสองห้องน้ำ
ในฐานะที่เป็นสถาปนิก งานของผมไม่ใช่แค่การออกแบบอาคารหรืองานตกแต่งภายใน แต่คือ “การสร้างประสบการณ์การอยู่อาศัย”
สิ่งสำคัญคือ ทำยังไงก็ได้ให้ลูกค้ารู้สึกมีความสุขและทีมงานของเราก็มีความสุขด้วย ถ้าทั้งวงจรของการทำงานมันเกิด energy ที่ดีแล้ว มันก็จะกระจายไปทั่ว ทำให้การทำงานต่างๆ ดำเนินไปได้ด้วยดี
ส่วนตัวผมให้ความสำคัญกับ ห้องน้ำ ห้องแต่งตัว และห้องครัว เพราะเป็นห้องที่เราใช้บ่อย ผมถูกสอนมาว่า สิ่งที่ยากที่สุดในงานอินทีเรียร์ คือ ห้องน้ำ...ผมจะบอกน้องๆ ในทีมเสมอว่า “ห้องน้ำ” เป็นตัววัดความประณีตและความตั้งใจของคุณ
ถ้าอยากแต่งบ้านเอาใจภรรยา ต้องให้ความสำคัญ กับ “พื้นที่แต่งตัว” ค่ะ กระจกต้องมี ! แสงต้องมา ! พยายามให้ได้ แสงธรรมชาติมากที่สุด หรือถ้าไม่มีแสงธรรมชาติก็ต้องจัดให้ มีแสงส่องจากข้างหน้าไม่ใช่ข้างบน
เวลาออกแบบตกแต่งห้อง ผมจะไม่ทำให้ออกมาดูเป็น สไตล์เดียวกันไปทั้งหมด ผมจะชอบมีอะไรสัก 1 ชิ้น เพื่อสร้างความ contrast ให้หลุดเข้าไป ทำให้งานตกแต่งดูสนุกขึ้น เช่น ห้องน้ำ สไตล์วินเทจ ผมอาจจะเลือกก๊อกที่ดูโมเดิร์นไปเข้าสร้าง gimmick ที่น่าสนใจ
แม้บ้านจะเต็มไปด้วยเฟอร์นิเจอร์ชิ้นสวยราคาแพง แต่หากขาดสิ่งที่สะท้อนความเป็นตัวคุณ เราจะรู้สึกเหมือนเดินเข้าไปในโชว์รูมเฟอร์นิเจอร์มากกว่าเดินเข้า “บ้านของเรา”
งานออกแบบที่มีมูลค่า มักใช้งบตกแต่งประมาณ 30% ของราคาบ้าน ไม่งั้นงานจะไม่สวย เพราะได้เฟอร์นิเจอร์ไม่แน่น ไม่เต็ม...กฎของการออกแบบสไตล์นี้คือ ของดีไม่มีถูกนะครับ
เวลาจะทำห้องนอนให้ลูก พ่อแม่มักเริ่มต้นด้วยการคิดถึงฟังก์ชั่น “ที่ตัวเองคิดว่าจำเป็น” สำหรับเด็กๆ ...แต่ผมอยากบอกว่า คุณพ่อคุณแม่ควรเริ่มต้นจากการคุยกับลูกก่อน
จริงๆ การจะตกแต่งบ้านให้ดูหรูหรานั้น ไม่จำเป็นต้องใช้ budget เยอะก็ได้ สำคัญคือต้องใช้ space ให้สวยก่อน คืออย่าทำให้เส้นสายในแนวตั้งและแนวนอนของห้องดูระเกะระกะ และพยายามตบของที่รกๆ ให้หายไปให้หมด
สำหรับบ้านจัดสรร ตอนซื้อบ้านมาใหม่ๆ อยากแนะนำว่าอย่าเพิ่งจัดบ้าน ผมอยากให้คุณลองไปเดิน ไปอยู่ก่อนสัก 1-2 อาทิตย์ เพื่อไปสัมผัสสภาพแวดล้อมจริงที่มันเกิดขึ้นตรงนั้น และเพื่อให้รู้ว่าคุณคุ้นเคยกับตรงไหน ชอบอยู่ตรงไหน
สำหรับใครที่คิดจะรีโนเวทบ้าน ก่อนตัดสินใจทำ ผมแนะนำให้ถามใจตัวเองให้ดีๆ ก่อนว่า คุณจะอยู่ตรงนี้ยาวหรือเปล่า? และควรต้องให้สถาปนิกกับวิศวกรวิเคราะห์โครงสร้างเดิมด้วย ไม่ใช่นึกอยากทำอะไรก็ทำ
ไม่ว่าห้องจะถูกตกแต่งออกมาให้สวยแค่ไหน...แต่มันจะไม่สวยสมบูรณ์ถ้าขาด “คนใช้งาน” มันเหมือนกับห้องมันขาดชีวิต ถ้าเราออกแบบมาแล้วผู้ใช้งานหรือผู้อยู่อาศัยเขาชอบเขารัก และทำให้เขามาใช้พื้นที่นั้นบ่อยๆ เป็นประจำ ผมถือว่า อันนี้คือความสำเร็จในงานออกแบบตกแต่งของผม
เวลาผมวาง Space ผมจะไม่มองว่า มันเป็นห้องหรือเป็นกรอบ ผมจะมองเรื่องการเชื่อมพื้นที่ทั้งในแนวนอน (ด้านหน้า ด้านข้าง) และแนวตั้ง (ด้านบน – ล่าง) เพื่อไม่ให้เกิดกรอบ ทำให้รู้สึกว่าห้องโปร่งไม่แคบและผู้อยู่อาศัยก็จะรู้สึกผ่อนคลายไม่ถูกบีบรัด
ความสนุกและความท้าทายในการทำงานของเขา คือ การที่ได้แก้ปัญหาและจัดเรียง “ความต้องการที่ฟุ้ง” ของลูกค้าให้เป็นสัดส่วนในแบบที่มันควรจะเป็น
การออกแบบตกแต่งภายในเป็นงานศิลปะ งานทุกชิ้นที่ออกมา เราต้องการออกแบบไม่ให้ซ้ำกับงานอื่น ทุกชิ้นจะต้องมีจุดเด่นที่เป็นเอกลักษณ์ ซึ่งหล่อหลอมขึ้นมาจากตัวตนของลูกค้าและบริบทของสภาพแวดล้อม
งานออกแบบที่เน้นการเชื่อมโยงกับ “บริบท” โดยรอบ สะท้อนให้เราเห็นถึงเอกลักษณ์ดีไซน์ที่ถูกสอดประสานเข้ากับอัตลักษณ์ของผู้อยู่อาศัยไว้ได้อย่างกลมกลืม รวมถึงบ่งบอกถึงตัวตนและแนวคิดในการทำงานของอินทิเรียร์ดีไซน์เนอร์หนุ่มผู้ก่อตั้ง Context Studio ได้เป็นอย่างดี
มีคอนโดไว้ลงทุน จะทำยังไงให้ปล่อยเช่าได้ไวเว่อร์ ! ต้องถามคุณแพร เจ้าของ Restory Interior บริษัทรับออกแบบตกแต่งคอนโดเพื่อการลงทุนและคอนโดเพื่อการอยู่อาศัย
ต้องการความช่วยเหลือทักแชตเลย
Live Chat With SB Design Squarex