2019 WEEK 3 "ณุสุระ ปัทมดิลก"

2019week3
15 มกราคม 2019
2019 WEEK 3 "ณุสุระ ปัทมดิลก"

ABOUT HIM

 

ถ้าเราทำงานตามแบบฝรั่ง ถึงทำได้ดี ก็ได้แค่เหมือน”...ผมว่าสถาปัตยกรรมมันมีคุณค่ามากกว่าความสวยงาม มันเป็นสิ่งที่เปลี่ยนชีวิตคนอยู่อาศัยได้ ผมคิดว่าถ้าเรา สร้าง Space ที่เหมาะกับวัฒนธรรมของเราได้ มันน่าจะทำให้สถาปัตยกรรมนั้นมีส่วนช่วยผลักดันสังคมและสร้างสังคมในแบบที่เหมาะกับวิถีของคนไทยได้ สัปดาห์นี้ชวนมาทำความรู้จักกับสถาปนิกหนุ่มที่เป็นทั้งนักวิชาการและนักวิชาชีพ คุณ ณ - ณุสุระ ปัทมดิลก ผู้ก่อตั้ง สัทธา อาร์คิเทค และอาจารย์พิเศษ ประจำคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ

 

ส่วนใหญ่งานของ สัทธา อาร์คิเทค จะเป็นประเภทบ้านพักอาศัย ห้องสมุด ศูนย์การเรียนรู้และรีสอร์ทครับ แนวทางในการออกแบบหลักๆ ผมสนใจเรื่อง Space ที่มีความเป็น ทรอปิคอลผสมกับความเป็นไทยเพราะรู้สึกว่าเราน่าจะมีสถาปัตยกรรมหรืองานตกแต่งภายในที่สะท้อนถึงความเป็นไทยออกมาความเป็นไทยในที่นี้มันหมายถึง กาลเทศะของสถาปัตยกรรมซึ่งสื่อสารผ่านเส้นสาย การใช้วัสดุ และสเกล เช่น ระยะทางเดิน ระยะผนัง ความสูงของประตู การใช้วัสดุที่ทึบกว่า ซึ่งมันทำให้ทุกอย่างดูอบอุ่น (ถ้าเป็นทรอปิคอลทางด้านเวียดนามหรือสิงค์โปร์ จะมีลักษณะคลีนๆ ขาวๆ)

 

ซึ่งผมก็นำมาประยุกต์ใช้ในการทำงานออกแบบด้วยครับ คือ เวลาออกแบบอาคาร ผมจะพยายามออกแบบให้มี พื้นที่ตรงกลาง”  ผมจะไม่ให้แบบว่าเปิดเข้าไปแล้วเจอแอร์เลย ผมจะพยายามกรองด้วยระเบียงหรือชายคา คือให้มันมีพื้นที่ที่ค่อยๆ เปลี่ยนอุณหภูมิของคน หรือที่เรียกว่า Transition Space ซึ่งเป็นพื้นที่ที่เหมาะกับสภาพอากาศบ้านเรา  คือเวลาออกแบบอาคาร ผมจะพยายามวางผังให้ห้องต่างๆ มันแยกออกจากกัน แต่เชื่อมต่อกันด้วยทางเดิน เพื่อให้มีลมผ่านเข้ามาในตัวอาคาร  ผมว่ามันเป็นสิ่งที่แตกต่างที่เห็นได้ชัดระหว่าง ตะวันตกและ ตะวันออก”  บางคอนโดผมก็จับห้องต่างๆ แยกกัน แล้วปล่อยเป็นสวนวิ่งเข้ามาตรงกลาง ส่วนบ้านผมจะวางพื้นที่อย่างระเบียงหรือที่ว่าง แทรกเข้าไปในอาคาร เพื่อให้อากาศค่อยๆ แปรไป  คือ ไม่อยากให้เป็นเหมือนเวลาเราไปห้าง ที่เดินอยู่ในอากาศร้อนๆ ข้างนอก พอเปิดประตูห้างก็เจอแอร์ปุ๊บเลย ทำให้เรารู้สึกวูบหน้านิดนึง  ซึ่งถ้าเราเจอแบบนี้ทุกๆ วันเวลาที่กลับบ้าน เราจะไม่สบายได้ ซึ่งผมว่า บ้านไม่ควรทำร้ายเจ้าของการออกแบบลักษณะนี้จะส่งผลให้ร่างกายของเราปรับตัวได้ดีขึ้น  

 

ถัดมาจะเป็นเรื่องของรูปแบบ ที่จะพยายามไม่ไปเบียดเบียนรูปทรงของสิ่งที่มันต้องเป็น เช่น "หลังคาทรงสูง" เป็นรูปแบบที่ดีเหมาะกับสภาพอากาศเมืองไทย เพราะช่วยระบายความร้อนได้ดี แต่บ้านทุกหลังที่เราเห็นว่าหลังคาสูง พอไปดูจริงๆ จะเห็นว่าเรากลับไปตีฝ้าตรง ทำให้เราไม่ได้ใช้ประโยชน์จากหลังคาสูงเลย ดังนั้น ส่วนใหญ่ผมจะไม่ทำฝ้าตรง (ยกเว้นห้องที่ต้องการควบคุมเรื่องเครื่องปรับอากาศ) ผมจะพยายามมองหาการใช้พื้นที่ร่วมของหลังคา เช่น ทำชั้นลอย เป็นต้น  คือ ถ้ามองจากข้างนอกเราเห็นเป็น "หลังคาทรงสูง"  พอเข้าไปข้างในก็จะยังรู้สึกได้ถึงหลังคาทรงสูง คือได้ความรู้สึกจริงในสิ่งที่มันเป็น ซึ่งมันจะทำให้เราได้พื้นที่ที่มากขึ้นและได้ระบายความร้อนด้วย  แอร์ก็จะทำงานน้อยลงเพราะความร้อนที่สะสมในอาคารมีน้อยลงครับ

 

สำหรับบทบาทเชิงวิชาการ เวลาสอนเด็กๆ สิ่งที่ผมเน้นคือเรื่องของ จรรยาบรรณครับ เพราะถ้ามีเรื่องนี้ ส่วนที่เหลืออื่นๆ มันจะตามมาเอง จรรยาบรรณในที่นี้หมายถึง การไม่ใช้วิชาชีพในทางที่ผิด การมีกระบวนการที่เราต้องรับผิดชอบต่องานสถาปัตย์ ซึ่งมันไม่ใช่รับผิดชอบแค่ให้โปรเจคเสร็จ แต่สิ่งที่ต้องทำ คือ การที่เราสร้างตึกขึ้นมาหลังนึง  เราต้องคำนึงถึง User ทั้งสองกลุ่ม 1.คนที่จ้างเรา 2.คนที่อยู่ข้างบ้านของคนที่จ้างเรา เพราะเขาเหล่านั้นก็เป็นคนที่ต้องได้ดูได้เห็นงานสถาปัตยกรรมของเราทุกๆ วัน เช่นเดียวกับเจ้าของบ้าน

 

 

ถ้าบ้านหลังนี้สร้างขึ้นมาแล้วมันไปทำลายบริบทรอบข้าง เช่น ไปบังลมเพื่อนบ้าน มันก็ไม่แฟร์ เพราะเราหายใจอากาศเดียวกัน ถึงบ้านจะสวยแต่อาจไม่ส่งผลดีเชิงสังคม แต่หากสร้างขึ้นมาแล้วทำให้บ้านอีกหลังรู้สึกว่า บ้านหลังนี้ช่วยสร้างทัศนียภาพที่ดีมีสุนทรียภาพที่ดีในการได้พบเห็นก็น่าจะเป็นสิ่งที่ดีกว่า  ถ้าเราทำอาคารแล้วเราก็ควรจะเหลือพื้นที่ว่างด้านข้างดีๆ ให้กับข้างบ้าน เหล่านี้เป็น "จรรยาบรรณของสถาปนิก"  ผมมองว่าสถาปัตยกรรมเป็นของคนทุกคน  และสถาปนิกไม่ใช่ผู้สร้าง แต่หน้าที่เรา คือ การนำความฝันคนอื่นมาเขียนเป็นพิมพ์เขียวแค่นั้นเอง แต่หน้าที่รับผิดชอบกลไกก็คือ สถาปัตยกรรมไม่เหมือนงานอื่นๆ  มันเป็นสิ่งที่ต้องอยู่ไปอีกอย่างน้อย 50 ปี  มันเป็นสิ่งที่มีบทบาทต่อมุมมองของผู้พบเห็น  เราลองนึกภาพว่าถ้าเราเอาบ้านหรูไปตั้งข้างสลัม...บ้านสวยและเจ้าของก็ชอบอยู่ตรงนี้  แต่มันอาจจะทำให้คนที่อยู่ในพื้นที่ข้างๆ รู้สึกถึงความเหลื่อมล้ำความไม่เท่าเทียม แต่ถ้าเราลดทอนความหรูหราลงสักนิด เปลี่ยนมิติมุมมองจากความหรูหราให้กลายเป็นความรู้สึก อยู่สบายมันก็จะสร้างทัศนคติอีกแบบให้ผู้พบเห็น  เขาอาจจะรู้สึกว่า เขาจะพยายามตั้งใจทำงาน ทำชีวิตให้ดีขึ้น เพื่อวันหนึ่งเขาจะได้มีบ้านที่น่าอยู่น่าสบายแบบนี้บ้าง...ผมว่านี่คือหน้าที่ของสถาปัตยกรรมและน่าจะเป็นจรรยาบรรณหลักของสถาปนิกในมุมของผมนะครับ

 

  • จอดรถคือประตูบ้านด่านแรก ไม่ใช่แค่ที่จอดรถและเก็บของ แต่มันคือพื้นที่แรกที่เราต้องเจอเมื่อกลับถึงบ้าน  เราไม่ควรต้องเบียดตัวเองในมุมมืดๆ อับๆ และมีแต่คราบน้ำมัน...ผมว่าถ้าเราใช้ที่จอดรถให้เป็นประโยชน์ได้มากกว่านี้ เราจะมีประตูบ้านที่ใหญ่ที่สุดในโลก  เราควรทำ “ที่จอดรถ” ให้เป็นพื้นที่ที่สวยที่สุดเพราะมันคือจุดเปลี่ยนจากถนนเข้าสู่พื้นที่ส่วนตัวของเรา เราสามารถผสมฟังก์ชั่นที่นั่งเล่นเข้าไปเพื่อเพิ่มบทบาทอื่นให้พื้นที่ตรงนี้ได้

 

  • สิ่งสำคัญในงานออกแบบ คือ “ที่ว่าง” ผมมองว่างานสถาปัตยกรรมมันต้องการการปรับแต่ง และผมไม่ใช่ผู้สร้างความสมบูรณ์เป็นคนสุดท้าย “ที่ว่าง” จึงเป็น Space ที่ผมมักจะใส่เข้าไปเสมอในงานออกแบบ เพื่อปล่อยให้เจ้าของบ้านเขามาจัดการเอง เพื่อให้เขาได้สร้างงานที่ดีที่สุดของเขา บางทีก็เป็นทางเดินบางทีก็เป็นห้องเหลือไว้ห้องนึง บางทีก็เป็นโครงหลังคา ซึ่งโดยมากก็จะเลือกที่จะปล่อยพื้นที่ที่มันคาบเกี่ยวหรือต้องเชื่อมต่อกับพื้นที่อื่น  เพราะถ้าเราทำทุกอย่างเสร็จสมบูรณ์เต็มพื้นที่ มันจะกลายเป็นว่า “เจ้าของบ้านจะไม่เหลือพื้นที่ที่เป็นตัวของเขาเองเลย”

 

  • พยายามเลือกเฟอร์นิเจอร์ที่ Flexible ผมว่าสิ่งที่บ้านในเมืองต้องการคือ “พื้นที่โล่ง” ไว้หายใจ  ซึ่งการสร้างบ้านหลังใหญ่ๆ อาจไม่ช่วยอะไร เพราะสุดท้ายเราก็จะใช้ชีวิตอยู่ไม่กี่พื้นที่ในบ้าน ผมจึงมองว่าเราควรทำให้แต่ละพื้นที่ในบ้านเป็นอะไรที่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ง่ายจะดีกว่า ถ้าทำบิลท์อิน สิ่งที่ตามมาคือเรื่องปลวกและความจำเจน่าเบื่อ ลองคิดดูว่าถ้าบ้านคือพื้นที่ที่เราชอบ แล้วเราสามารถจัดสรรหรือปรับเปลี่ยนมันได้ทุก 5 ปี เหมือนได้เปลี่ยนบ้านใหม่ได้บรรยากาศใหม่อยู่เสมอ อันนี้น่าจะเป็นสิ่งที่ดีกับบ้านในเมือง

 

Favorite items

 

Living Inspiration @ SB Design Square

 

มุมนี้มีประตูแบบโรงนาเก่าๆ พออยู่คู่กับชั้นไม้ดีไซน์ดิบๆ ผมว่ามันให้ความรู้สึกเหมือนจะมีพื้นที่กว้างๆ สีเขียวอยู่ข้างๆ บรรยากาศแบบบ้านในชนบท ซึ่งถ้าเราทำผนังข้างนึงเป็นกระจกใส สำหรับบ้านที่มีพื้นที่สวนน้อยๆ มันน่าจะทำให้สวนขนาดเล็กๆ ที่เรามีอยู่นั้นมันดูกว้างขึ้น

 

 

มุมนี้ผมชอบเรื่องวัสดุ  วัสดุพื้นหลังมันมีลักษณะ Hairline ให้ความรู้สึกที่เป็นอินดัสเทรียลผสม มันมีระยะลึกเข้าไป ทำให้ตู้ด้านหน้าดูลอยเด่น และวัสดุหน้าบานที่เป็นสีทองแดง ผู้รู้สึกว่า “ทองแดง” เป็นส่วนผสมของสิ่งที่มีค่าของมนุษย์ คือมันเป็น “ทองและเงิน” มารวมกัน กลายเป็นทองแดงบ้าง พิงค์โกลด์บ้าง ซึ่งพอมาแมตช์กับสีดำและวัสดุมันวาว มันจะดูมีค่าดูโดดเด่นขึ้นมา

 

ต้องการความช่วยเหลือทักแชตเลย

Live Chat With SB Design Squarex